สำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชี บริษัทที่จดจัดตั้งขึ้นมา เพื่อบริการ ดูแลบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจภายในประเทศไทยปัจจุบันในการเปิดสำนักงานบัญชีของเด็กรุ่นใหม่มีมากขึ้น และการเปิดสำนักงานบัญชีก็ไม่ยากนัก หากเรียนจบบัญชีและตรงตามหลักสูตรก็สามารถประกอบกิจการนี้ได้

สำนักงานบัญชี
สำนักงานบัญชี

ในการ “ รับทำบัญชี ” มีหลายรูปแบบมากในปัจจุบัน เนื่องจาก ผู้ประกอบการมีการเข้าถึงนักบัญชีรุ่นใหม่ ที่อาศัยเทคโนโลยี ในโลกปัจจุบัน รับงานลูกค้าอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคิดค่าบริการที่ราคาถูก หรือ การดูแลเอกสารการลงบัญชีให้บางส่วน หากอยากได้บริการอย่างอื่นเพิ่มก็ต้องจ่ายเพิ่ม หรือแม้กระทั้งดูแลให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ ทำให้การเปิดสำนักงานบัญชีอาจไม่จำเป็นสำหรับนักบัญชีรุ่นใหม่ แต่!! หากท่านคิดอยากจะเปิดสำนักงานบัญชี

สิ่งที่สำคัญในการเปิดสำนักงานบัญชี

1.มีความรู้ความสามารถในงานที่รับทำ

การรับงานในระบบสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย ไม่ได้บริการเหมือนกันหมดทั้งประเทศ แต่ละที่จะมีลักษณะการรับงานที่แตกต่างกันไป แต่ระบบงานหลักๆ จะคล้ายคลึงกัน โดย อาศัยมาตรฐานการบัญชี พรบ.การบัญชี และ ระบบภาษีที่เหมือนกัน แต่การดำเนินงาน ก็อาศัยตามที่ถนัด หรือตามที่นโยบายบริษัทกำหนด เช่น บางสำนักงานบัญชี ถนัดงาน รับเหมาก่อสร้าง บางที่ถนัด งานซื้อมา-ขายไป,ร้านอาหาร หรือ บางแห่งถนัดเช่าอาคารพาณิชย์ ห้องเช่า เป็นต้น

หากผู้ประกอบเลือกสำนักงานบัญชีที่ถนัดในกิจการของท่าน ก็เป็นผลดีของผู้ประกอบการ เพราะสำนักงานบัญชีจะแนะนำ ให้คำปรึกษา เพื่อลดข้อปิดพลาดในการทำงาน 

2.ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์

แน่นนอนความรับผิดชอบในงานมักเป็นส่วนประกอบที่ดีของ ทุกสาขาอาชีพ แต่สำนักงานบัญชีจะวัดความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และ ซื่อสัตย์ของงานได้อย่างไร ?

ในการทำงานทุกมักมีข้อผิดพลาดเสมอ ไม่มากก็น้อย แต่หลังจากผิดพลาดละ? เช่น

  • ไม่ทิ้งงานระหว่างให้บริการลูกค้า
  • แก้ไข้สิ่งผิดพลาดให้ถูกต้องก่อนลูกค้าจะเลิกใช้บริการ
  • ยื่นภาษีให้ตรงตามระยะเวลากำหนด เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดค่าปรับ
  • นำส่งเงินภาษีที่ได้รับจากลูกค้าให้สรรพากร เป็นต้น

ในการทำงานทุกครั้งจะต้องมีข้อผิดพลาด ไม่มากก็น้อย แต่หลังจากผิดพลาดละ? สำนักงานบัญชีควรรับผิดชอบแก้ไข้ และไม่ทิ้งงานที่ทำของลูกค้าในขนาดเป็นลูกค้ากันอยู่  

3.อิสระในการทำงาน

ความอิสระในการทำงานเป็นสิ่งที่สำนักงานบัญชีทุกที่ควรมี เนื่องจากการทำงานสายอาชีพนี้ มักเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ และหากผู้ปะรกอบการกระทำผิด โดยเจตนา หรือ ไม่เจตนา ก็อาจมีการตัดเตือนหรือแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับปรุงให้ถูกต้อง แต่ถ้า สำนักงานบัญชีขาดอิสระในการทำงาน แน่นอน!! ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการบันทึกบัญชี หรือดูแลเอกสารของ กิจการที่กระทำความผิด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว ดังนั้น หากสำนักงานบัญชีไหน ที่มีความอิสระในการทำงาน แสดงให้เห็นว่า สำนักงานบัญชีนั้น ย่อมมีความสามารถในการทำงานให้กับลุกค้าทุกรายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

4.ระยะเวลาที่เปิดกิจการ

ระยะเวลาที่เปิดกิจการ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสำนักงานบัญชี หากท่านคิดจะเปิดสำนักงานบัญชีต้องอดทนเป็นอย่างมาก เพราะใน ช่วงแรกอาจจะติดขัดบ้าง ลูกค้าไม่มีบ้าง ทำผิดบ้าง หาดท่านอดทน และใช้ความพยายามประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ จะทำให้ ความน่าเชื่อของ สำนักงานบัญชียิ่งมากขึ้น เมื่ออายุสำนักงานบัญชีมากขึ้น

5.ประสบการณ์ของพนักงานบัญชีในบริษัท

หากท่านเป็นสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ อาจให้ความเชื่อถือแก่ลูกค้าไม่ได้มากนัก แต่ถ้าท่านมีประสบการณ์ในการทำงานมาก ก็ทำให้กลายเป็นจุดแข็งได้อย่างสบาย เพราะการรับงานบัญชีในสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ หากท่านผิดพลาดในช่วงปีแรก ความน่าเชื่อถือ หรือโอกาสที่จะได้ดูแลลูกค้ารายนั้น อาจหมดไป จึงต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานบัญชีที่มากเพื่อดูแลลุกค้าด้วยตัวเองในช่วงแรกๆ ก่อนจะให้พนักงานรับผิดชอบงานต่อ

เปิดบริการและอำนวยความสะดวก

สำนักงานบัญชี เปิดบริการ รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จัดตั้งขึ้นจากการเรียกร้องของลูกค้าที่ใช้บริการ รับทำบัญชีกับผู้บริหารมายาวนานและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของ ผู้ประกอบการที่มีอุปการคุณ และสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นสำนักงานบัญชี ทางผู้บริหาร เร่งเห็นถึงความต้องการใช้ที่ผู้ใช้บริการสำนักงานบัญชีอย่าง เต็มรูปแบบ และเรา

รับทำบัญชี มาอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นการพัฒนาและความเก้าหน้าของผู้บริหาร และเพื่อ ตอบสนองความต้องการของทุกๆท่าง ผู้บริหารจึงจัดตั้งเป็นสำนักงานบัญชี เต็มรูปแบบ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการที่ต้องการและดำเนินกิจการ รับทำบัญชี อย่าง ต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกิจการ ทุกประเภท พร้อมทั้งทีมงานที่มี ประสิทธิภาพ ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องรับงานบัญชี และทำบัญชี มาโดยตลอด

สำนักงานบัญชี

พร้อมทั้งทีมงานทางด้านบัญชีคอมพิวเตอร์พัฒนาระบบงานและระบบการ รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีที่ใช้เฉพาะงานใน สำนักงานบัญชี เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการ บันทึกบัญชี โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการตรวจทาน ทำให้สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด

รับทำบัญชี

บริษัท ปังปอน จำกัด เปิดให้บริการมาแล้วมากกว่า 20 ปี รับทำบัญชี บัญชีสรรพากร เป็น“ สำนักงานบัญชีคุณภาพ ” ที่รับรองโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) มาแล้วกว่า 10 ปี และ เป็น “ สำนักงานบัญชีตัวแทนสรรพากร ” ที่รับรองโดยกรมสรรพากรใหญ่ สามารถจัดเก็บเงินภาษีของลูกค้า แล้วนำส่งสรรพากรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เน้นการให้บริการทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงินรายปี  

รับทำบัญชี
ทำบัญชี

เปิดให้บริการผู้ประกอบการที่ต้องการจัดทำบัญชี  หากท่านไม่มีเวลา ในการจัดการเอกสาร ภาษีซื้อ ภาษีขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเน้นผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับ การทำบัญชี และภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง หรือ ผู้ประกอบการที่เปิดกิจการใหม่ เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น งานบริการ งานซื้อมาขายไป ขายของออนไลน์ 

สำนักงานบัญชี

บริการอะไรบ้าง ?

  • การยื่นแบบภาษี
  • ทำบัญชีบริษัท
  • ยื่นแบบ ภงด.53
  • ยื่นแบบ ภงด.50
  • ยื่นแบบ ภงด.51
  • ยื่นแบบ ภงด.3
  • ยื่นแบบ ภงด.1
  • แบบภพ30
  • ภงด90
  • ภงด 91
  • ทําบัญชี
  • รับตรวจสอบบัญชี
  • สมุด ราย วัน ขาย
  • ภาษี ครึ่ง ปี
  • การ บันทึก รายการ ค้า ใน สมุด ราย วัน ทั่วไป
  • บริษัทตรวจสอบบัญชี
  • สอบถาม ภาษี ปรึกษาการเสียภาษีที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบเงินสมทบประกันสังคม
  • ตรวจสอบภาษีและยื่นภาษี
  • ติดต่อสรรพากร เป็นต้น

ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์

กรณีจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • รายได้จากการขาย คือ การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าที่มีการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์โดยนำยอดสรุปรายงานการเงินประจำเดือนที่ยังไม่ถูกหักค่าใข้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าดำเนินการ และยื่นแบบภพ.30 ไม่เกิน วันที่ 15 ของเดือน
  • ค่าขนส่งที่เรียกเก็บจากลูกค้าถือเป็นรายได้ต้องนำไปยื่นแบบ ภพ.30 ไม่เกิน วันที่ 15 ของทุกเดือน
  • ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนหลัก ประกอบด้วย ค่าสินค้า ค่าขนส่ง ค่าเช่าพื้นที่เวบไซด์ ค่าโฆษณาใน facebook ค่าทำเพจ ต่าง ๆ สามารถนำไปหักกับรายได้ เพื่อลดหย่อนภาษีสิ้นปี
  • ค่าโฆษณาใน facebook ต้องยื่นแบบ ภพ 36 ก่อน จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

การยื่นภาษี วิธียื่นภาษี เช็คภาษี

การยื่นภาษี
การยื่นภาษี

วิธียื่นภาษี

  • วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564

การเสียภาษีบุคคลธรรมเป็นหน้าที่ที่ผู้มีเงินได้จำเป็นต้องยื่นในทุก ๆ ปี ซึ่งผู้ที่มีเงินได้ที่ต้องทำการยื่นแบบคือบุคคล คือ

  1. 1. หากเป็นผู้ที่มีรายได้แค่เงินเดือนเพียงอย่างเดียว รายได้ที่ต้องเริ่มยื่นภาษีคือ 120,000 บาท ต่อปี ในกรณีที่มีคู่สมรสจะเพิ่มขึ้นเป็น 220,000 บาท
  2. 2. หากเป็นผู้ที่มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนนั้น รายได้ที่ต้องเริ่มยื่นภาษีคือ 60,000 บาท ในกรณีที่มีคู่สมรสจะเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 บาท

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กที่จบใหม่และได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน ก็จะมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องทำการยื่นแบบภาษีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันนั้น ทางกรมสรรพากรก็ช่วยอำนวยความสะดวก และรณรงค์ให้มีการยื่นแบบภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว 

การยื่นภาษีบุคคลธรรมดาผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสามารถทำการยื่นได้ผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว โดยขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

  • เข้าไปที่เว็บของกรมสรรพากร https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php แล้วเลือก ยื่นแบบออนไลน์
  • เลือกแบบที่เราต้องการจะยื่น (ในที่นี้คือแบบภงด 90/91)
  • คลิกที่ปุ่ม “ยื่นภ.ง.ด.90/91”
  • ทำการล้อคอินเข้าระบบ
  • ระบบจะให้ผู้ยื่นภาษีทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ยื่นภาษี
  • ระบบจะให้ผู้เสียภาษีระบุสถานภาพ เมื่อระบุครบถ้วนแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป
  • ให้ผู้ยื่นภาษีระบุประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนที่ผู้ยื่นภาษีมีให้ครบถ้วน แล้วเลือก ทำรายการต่อไป
  • ทำการบันทึกเงินได้,ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ยื่นภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน
  • บันทึกค่าลดหย่อยทั้งหมดที่ผู้ยื่นภาษีมี
  • ตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ยื่นภาษีได้ทำการบันทึกข้อมูลว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ในหน้านี้ระบบจะทำการแสดงภาษีที่ผู้ยื่นภาษีจะต้องเสียหรือได้คืน หากตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป
  • ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้มีเงินได้ และภาษีที่ต้องชำระอีกครั้ง เมื่อเสร็จแล้วเลือก ยืนยันการยื่นแบบ
  • ระบบจะทำการแสดงผลการยื่นแบบ และให้พิมพ์แบบ
ยื่นภาษี

ตรวจภาษี

ตรวจภาษี
ตรวจภาษี
  • วิธีเช็คสถานะเงินคืนภาษี ตรวจสอบยื่นภาษี

ในการขอคืนภาษีจากการยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั้น โดยปกแล้วจะได้รับเงินคืนภายใน 3 – 7 วัน แต่ในบางกรณีอาจต้องรอถึง 45 วัน ถึงจะได้เงินคืน ซึ่งปัญหาที่ทำให้ผู้เสียภาษีได้เงินคืนช้าจะมีดังนี้

  1. 1.ข้อมูลไม่ถูกต้องหรือ ยื่นภาษีไม่ถูก เช่น ผู้ยื่นภาษีลืมกรอกหรือกรอกข้อมูลเงินได้ไม่ถูกต้อง ทำให้ข้อมูลที่ยื่นไปไม่ตรงกันกับเจ้าหน้าที่
  2. 2.เจ้าหน้าที่ขอเอกสารมาเพิ่มแต่เราไม่รู้ เนื่องจากผู้ยื่นภาษีส่วนมากนั้นเมื่อยื่นภาษีไปแล้วก็ไม่ได้สนใจ หรือติดตามสถานะว่าทางเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารหรือข้อมูลอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  3. 3.กดยื่นแบบเกิน 1 ครั้ง อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ยื่นภาษีทำการกรอกข้อมูลและยืนยันการกรอกภาษีไปแล้วหนึ่งรอบ แต่กลับมาแก้ไขข้อมูลแล้วทำการยืนยันการยื่นแบบใหม่อีกรอบ กรณีนี้ระบบจะทำการเข้าคิวเพื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้เสียภาษีใหม่
  4. 4.ไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ในกรณีนี้สรรพากรจะทำการคืนภาษีโดยส่งหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีให้ทสงไปรษณีย์ ซึ่งจะใช้เวลามมากกว่าการรับเงินคืนจากระบบพร้อมเพย์ ซึ่งปกติการรับเงินคืนจากระบบพร้อมเพย์จะได้รับภายใน 3 วัน

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ทำการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินคืนนั้นหรือต้องการตรวจสอบสถานะจากการยื่นภาษีเกินนั้นสามารถตรวจสอบได้โดยทำตามขั้นตอนนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์สอบถามข้อมูลการคืนภาษีของสรรพากร  https://www.rd.go.th/27942.html กรอกข้อมูล และเลือกปีภาษีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูล

ตรวจสอบยื่นภาษี
ตรวจสอบยื่นภาษี

2.ระบบจะแสดงข้อมูลสถานะของภาษีที่ผู้ยื่นภาษีได้ยื่นเข้ามา ว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนใด

สอบถามภาษี
สอบถามภาษี

สำนักงานบัญชี

รับทําบัญชี
รับทําบัญชี

สิ่งที่สำคัญในการเปิดสำนักงานบัญชี

1.มีความรู้ความสามารถในงานที่รับทำ

การรับงานในระบบสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย ไม่ได้บริการเหมือนกันหมดทั้งประเทศ แต่ละที่จะมีลักษณะการรับงานที่แตกต่างกันไป แต่ระบบงานหลักๆ จะคล้ายคลึงกัน โดย อาศัยมาตรฐานการบัญชี พรบ.การบัญชี และ ระบบภาษีที่เหมือนกัน แต่การดำเนินงาน ก็อาศัยตามที่ถนัด หรือตามที่นโยบายบริษัทกำหนด เช่น บางสำนักงานบัญชี ถนัดงาน รับเหมาก่อสร้าง บางที่ถนัด งานซื้อมา-ขายไป ,ร้านอาหาร หรือ บางแห่งถนัดเช่าอาคารพาณิชย์ ห้องเช่า เป็นต้น

2.ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์

แน่นนอนความรับผิดชอบในงานมักเป็นส่วนประกอบที่ดีของ ทุกสาขาอาชีพ แต่สำนักงานบัญชีจะวัดความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และ ซื่อสัตย์ของงานได้อย่างไร ?

ไม่ทิ้งงานระหว่างให้บริการลูกค้าแก้ไข้สิ่งผิดพลาดให้ถูกต้องก่อนลูกค้าจะเลิกใช้บริการยื่นภาษีให้ตรงตามระยะเวลากำหนด เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดค่าปรับนำส่งเงินภาษีที่ได้รับจากลูกค้าให้สรรพากร เป็นต้น

ในการทำงานทุกครั้งจะต้องมีข้อผิดพลาด ไม่มากก็น้อย แต่หลังจากผิดพลาดละ? สำนักงานบัญชีควรรับผิดชอบแก้ไข้ และไม่ทิ้งงานที่ทำของลูกค้าในขนาดเป็นลูกค้ากันอยู่

3.อิสระในการทำงาน

ความอิสระในการทำงานเป็นสิ่งที่สำนักงานบัญชีทุกที่ควรมี เนื่องจากการทำงานสายอาชีพนี้ มักเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ และหากผู้ปะรกอบการกระทำผิด โดยเจตนา หรือ ไม่เจตนา ก็อาจมีการตัดเตือนหรือแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับปรุงให้ถูกต้อง แต่ถ้า สำนักงานบัญชีขาดอิสระในการทำงาน แน่นอน!! ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการบันทึกบัญชี หรือดูแลเอกสารของ กิจการที่กระทำความผิด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว ดังนั้น หากสำนักงานบัญชีไหน ที่มีความอิสระในการทำงาน แสดงให้เห็นว่า สำนักงานบัญชีนั้น ย่อมมีความสามารถในการทำงานให้กับลุกค้าทุกรายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

4.ระยะเวลาที่เปิดกิจการ

ระยะเวลาที่เปิดกิจการ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสำนักงานบัญชี หากท่านคิดจะเปิดสำนักงานบัญชีต้องอดทนเป็นอย่างมาก เพราะใน ช่วงแรกอาจจะติดขัดบ้าง ลูกค้าไม่มีบ้าง ทำผิดบ้าง หาดท่านอดทน และใช้ความพยายามประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ จะทำให้ ความน่าเชื่อของ สำนักงานบัญชียิ่งมากขึ้น เมื่ออายุสำนักงานบัญชีมากขึ้น

5.ประสบการณ์ของพนักงานบัญชีในบริษัท

หากท่านเป็นสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ อาจให้ความเชื่อถือแก่ลูกค้าไม่ได้มากนัก แต่ถ้าท่านมีประสบการณ์ในการทำงานมาก ก็ทำให้กลายเป็นจุดแข็งได้อย่างสบาย เพราะการรับงานบัญชีในสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ หากท่านผิดพลาดในช่วงปีแรก ความน่าเชื่อถือ หรือโอกาสที่จะได้ดูแลลูกค้ารายนั้น อาจหมดไป จึงต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานบัญชีที่มากเพื่อดูแลลุกค้าด้วยตัวเองในช่วงแรกๆ ก่อนจะให้พนักงานรับผิดชอบงานต่อ

การทำบัญชี

สำนักงานบัญชี
สำนักงานบัญชี

ลักษณะการรับงานทำบัญชีในปัจจุบัน หลักๆ

  • รับทำเฉพาะภาษี (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภาษีต่าง ๆ)ลักษณะนี้เป็นการรับงานยื่นภาษีให้อย่างเดียว ไม่ได้มีการลงบันทึกบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินให้ผู้ประกอบการในการทำบัญชีลักษณะนี้ต้องจัดทำแบบให้ยื่น ภ.พ.30 เป็นประจำทุก ๆเดือน ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมียอดซื้อ ขาย หรือไม่
  • รับทำบัญชีแต่ไม่รับยื่นภาษีเป็นการรับงานทำบัญชีที่จัดทำงบเพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่รับยื่น ภ.พ.30 เนื่องจาก อาจไม่มีเวลาเป็นประจำทุก ๆ เดือน เพื่อนั่งบิลซื้อ-ขายให้ได้ หรือบางครั้งผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • รับทำบัญชีครบวงจรเป็นการจัดทำในลักษณะนำเอกสาร ทั้งหมดของผู้ประกอบการ ทำจัดทำ ทั้งงบการเงิน และดูและ ภาษีทั้งหมด ของกิจการ มีการจัดทำประกันสังคมให้ และพบสรรพากรหากกิจการโดยตรวจสอบ
  • รับยื่นเฉพาะงบการเงินในปัจจุบัน การทำบัญชี เน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น บางครั้งผู้ประกอบการ อาจพบเจอปัญหา เมื่อออกงบเสร็จแล้ว พบว่าบริษัทของท่านไม่ได้ยื่นงบการงบในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าการเงิน เกิดจากผู้ทำบัญชียื่นไม่เป็น หรือไม่ได้ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ ทำให้ปัจจุบัน มีการรับยื่นงบการให้นั้นเอง

โดยทั่วไปการรับงานแบบ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่เป็นสำนักงานบัญชี ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ประกอบการ กับผู้ รับทำบัญชี

สำนักงานบัญชี บริษัทที่จดจัดตั้งขึ้นมา เพื่อบริการ ดูแลบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจภายในประเทศไทย

ปัจจุบันในการเปิดสำนักงานบัญชีของเด็กรุ่นใหม่มีมากขึ้น และการเปิดสำนักงานบัญชีก็ไม่ยากนัก หากเรียนจบบัญชีและตรงตามหลักสูตรก็สามารถประกอบกิจการนี้ได้

ในการ รับทำบัญชี มีหลายรูปแบบมากในปัจจุบัน เนื่องจาก ผู้ประกอบการมีการเข้าถึงนักบัญชีรุ่นใหม่ ที่อาศัยเทคโนโลยี ในโลกปัจจุบัน รับงานลูกค้าอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคิดค่าบริการที่ราคาถูก หรือ การดูแลเอกสารการลงบัญชีให้บางส่วน หากอยากได้บริการอย่างอื่นเพิ่มก็ต้องจ่ายเพิ่ม หรือแม้กระทั้งดูแลให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ ทำให้การเปิดสำนักงานบัญชีอาจไม่จำเป็นสำหรับนักบัญชีรุ่นใหม่ แต่!! หากท่านคิดอยากจะเปิดสำนักงานบัญชี

รับทำบัญชีราคาถูก

การกำหนดอัตราค่าบริการ ทำบัญชีในปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานที่ออกมากำหนด อย่างชัดเจน ทำให้ ทำบัญชีทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ กำหนดค่าทำบัญชีเองตามความสามารถ ซึ่งไม่ผิด เว้นแต่ท่านเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่จำเป็นต้องกำหนดขึ้นมาเองอย่างชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคิดค่าบริการอย่างไร

สาเหตุการเก็บค่าบริการรับทำบัญชีราคาถูก เช่น

  • ต้องการลูกค้า เป็นอันดับแรก
  • ไม่สามารเรียกราคาเทียบกับสำนักงานบัญชีที่เปิดมานานได้
  • อาจต้องหาประสบการณ์ในการทำงานก่อน
  • ผู้ประกอบการยังไม่ไว้ใจ หากต้องจ่ายค่าบริการแพง
  • เจอผู้ประกอบการที่พอใจในค่าบริการ
  • เป็นลักษณะบุคคล ไม่ใช้สำนักงานบัญชี ไม่ต้องเลี้ยงลูกน้อง

ค่าบริการทำบัญชีราคาถูกไม่ใช้ ไม่ดีเสมอไป บางครั้งท่านอาจเจอ สำนักงานบัญชีหรือบุคคล ที่มีความรับผิดชอบจริง ๆ แต่ไม่สามารถสู้กับการตลาดของ สำนักงานบัญชีที่เปิดมานานแล้ว จึงอาจทำให้คิดอัตราค่าบริการให้ถูกกว่าทั่วไป ผู้ประกอบจึงควรเลือก ให้เหมาะสม กับกิจการของท่าน และยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้

รับทำบัญชีราคาถูก 500 บาท การกำหนดอัตราค่าบริการ ทำบัญชีในปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานที่ออกมากำหนด อย่างชัดเจน ทำให้ ทำบัญชีทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ กำหนดค่าทำบัญชีเองตามความสามารถ ซึ่งไม่ผิด เว้นแต่ท่านเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่จำเป็นต้องกำหนดขึ้นมาเองอย่างชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคิดค่าบริการอย่างไร

สาเหตุการเก็บค่าบริการรับทำบัญชีราคาถูก เช่น

  • ต้องการลูกค้า เป็นอันดับแรก
  • ไม่สามารเรียกราคาเทียบกับสำนักงานบัญชีที่เปิดมานานได้
  • อาจต้องหาประสบการณ์ในการทำงานก่อน
  • ผู้ประกอบการยังไม่ไว้ใจ หากต้องจ่ายค่าบริการแพง
  • เจอผู้ประกอบการที่พอใจในค่าบริการ
  • เป็นลักษณะบุคคล ไม่ใช้สำนักงานบัญชี ไม่ต้องเลี้ยงลูกน้อง

ค่าบริการทำบัญชีราคาถูกไม่ใช้ ไม่ดีเสมอไป บางครั้งท่านอาจเจอ สำนักงานบัญชีหรือบุคคล ที่มีความรับผิดชอบจริง ๆ แต่ไม่สามารถสู้กับการตลาดของ สำนักงานบัญชีที่เปิดมานานแล้ว จึงอาจทำให้คิดอัตราค่าบริการให้ถูกกว่าทั่วไป ผู้ประกอบจึงควรเลือก ให้เหมาะสม กับกิจการของท่าน และยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้

รับทำบัญชี ออนไลน์ รับทำบัญชีที่บ้าน

ในปัจจุบันบางครั้งการทำบัญชี ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จ้างสำนักงานบัญชี มีการจ้างผู้บัญชีอิสระ ที่เป็นลักษณะบุคคล ที่ขึ้นชื่อผู้ทำได้ อาจมีการรับทำบัญชีที่บ้าน ไม่ได้มีสำนักงานที่ตั้ง อย่างชัดเจน อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย  เพราะงานบัญชีเป็นงานบริการ ไม่สามารถจับต้องได้ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือ ของบุคคล หรือ บริษัทนั้นๆ หากต้องการใช้บริการ ควรศึกษา หรือ ลองเช็คประวัติหรือ ดุความเป็นมาของผู้ทำก่อน

การทำบัญชีออนไลน์

อดีต หากพูดถึงการทำบัญชี ออนไลน์ อาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบัน โปรแกรมบัญชี หลายๆ โปรแกรม พัฒนาให้สามารถทำบัญชี ออนไลน์ได้ ทำให้นักบัญชีสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ อีกทั้ง ปัจจุบันมีบริการขนส่งเอกชนมากขึ้นการรับ-ส่งเอกสารเป็นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และ สรรพากร ยังคงพัฒนาการเปิดบิลซื้อ ขาย ใบกำกับภาษี แบบออนไลน์ และพยายามให้ผู้ประกอบการใช้ให้แพร่หลายมากขึ้น ทำให้สิ่งเหล้านี้ อาจเรียกได้ว่า การทำบัญชีแบบออนไลน์ได้อย่างเต็มระบบมากยิ่งขึ้น

คุณสามารถ จดทะเบียนบริษัท ได้ด้วยตัวเอง

วิธีการจดทะเบียนบริษัท กับสิ่งที่ควรรู้ ก่อนการจดทะเบียนบริษัท

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การประกอบธุรกิจ การค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด

รู้ก่อนจดทะเบียนบริษัท

รูปแบบองค์กรธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย)

  • ห้างหุ้นส่วน
    • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
    • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

2.องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

  • กิจการค้าเจ้าของคนเดียว
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

คำถามที่ทุกคนถามบ่อยๆ “หจก ต่างจาก บริษัท ตรงไหน”

หจกต่างจากบริษัท

หลายๆคน ที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ มักจะตั้งคำถามอยู่เสมอ และมักจะไม่ค่อยได้รับคำตอบที่โดนใจ ว่าจะเลือกแบบไหนดี แต่ในครั้งนี้ อาจแนะนำว่า หากท่านต้องการประกอบธุรกิจจริงๆ ต้องถามกับตัวเองว่าต้องการทำระยะสั้นหรือระยะยาว หากต้องการลองทำดู ก็จะแนะนำให้จดเป็นหจก. แต่ถ้าหากต้องการทำระยะยาวก็เปิดเป็นบริษัทฯ เหตุที่แนะนำเช่นนั้นก็เพราะ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะสูงกว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด

จดทะเบียนบริษัท ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การจดทะเบียนบริษัท อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะไมรู้ว่าขั้นตอนการดำเนินการ อีกทั้งยังมีการเตรียมเอกสารหลายอย่างที่ยุ่งยาก หากจัดเตรียมเอกสารไม่ครบถ้วน ทำให้เสียเวลาเข้าไปติดต่อในวันหลัง
หากไม่สะดวก หรือไม่มีความรู้ในการจดทะเบียนบริษัท ควรจ้างบริษัทที่รับจดทะเบียนบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการแทนจะดีกว่า  อาจจะมีค่าบริการบ้างแต่ก็ถือว่าว่าคุ้มค่ากับที่ไม่ต้องเสียเวลา ได้เอกสารจดทะเบียนที่ถูกต้อง รวดเร็ว แต่ก็ควรเลือกบริษัทรับจดทะเบียนบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ดำเนินธุรกิจมานานยิ่งดี ยิ่งเป็นตัวการันตีถึงประสบการณ์และความชำนาญ

ในการจดทะเบียน มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 

  1. จดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์
  2. การจดทะเบียนบริษัท

1.จดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจออนไลน์ ที่มีเว็บไซต์หลักของบริษัท สำหรับขายสินค้าหรือบริการ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างของธุรกิจ  หากนึกไม่ออก ลองเข้าไปดูตามเว็บไซต์ของบริษัทใหญ่ จะสังเกตเห็น สัญลักษณ์สีม่วง DBD อยู่ตามเว็บไซต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจร้านค้าที่ผ่านการจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อย่างถูกต้อง ทำให้คนที่เป็นลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยที่จะเลือกซื้อสินค้า  ในส่วนของร้านค้าเองก็มีความน่าเชื่อถือ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ทีดีให้กับธุรกิจบนโลกออนไลน์

อยากจะจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำอย่างไรบ้าง?

  1. ต้องเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
    • ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจที่ซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    • ผู้ให้บริการ Web Hosting
    • ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)
    • ผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายบนอินเตอร์ ที่เราคุ้นหูคุ้นตากัน เช่น Kaidee , Lazada ฯลฯ
  2. สร้างเว็บไซต์ธุรกิจให้สำเร็จ พร้อมขาย เช่น ลงรูป ลงเนื้อหา ที่อยู่ วิธีชำระเงิน ช่องทางชำระเงิน วิธีการจัดส่ง ซึ่งการสร้างเว็บไซต์สามารถจ้าง หรือสามารถเลือกใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป จาก Weloveshopping, lnwshop ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน
  3. ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน สำหรับคนที่อยู่กรุงเทพ ส่วนคนที่อยู่ต่างจังหวัด ยืนขอได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสำนักงานเทศบาลในพื้นที่
  4. ทำเรื่องขอใช้เครื่องหมาย DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์
  • เอกสารที่ใช้ประกอบการขอจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำหรับเจ้าของร้าน
  2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
  3. รายละเอียดของเว็บไซต์
  4. เอกสารจดโดเมนเนม
  5. ปริ้นหน้าเว็บไซต์ของคุณไปด้วย ประกอบด้วย หน้าแรกของเว็บไซต์, หน้าสินค้า/บริการ, หน้าวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ, หน้าวิธีชำระเงิน, หน้าวิธีส่งสินค้า
  6. แผนที่ของร้าน
  7. หากจดทะเบียนในนามนิติบุคคล ต้องมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
  8. กรณีมอบอำนาจให้คนอื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมอากรแสตมป์ และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจมาด้วย

2.การจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สิ่งที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนบริษัท

  1. ต้องมีชื่อบริษัท ที่ได้การจองชื่อไว้แล้ว
  2. ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ของสำนักงานและกรรมการ
  3. วัตถุประสงค์ที่ประกอบกิจการ
  4. ทุนจดทะเบียน มูลค่าหุ้น
  5. ข้อมูลผู้เริ่มก่อตั้ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ จำนวนหุ้น
  6. ข้อมูลของพยาน 2 คน เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ
  7. อากรแสตมป์
  8. จำนวนทุนที่เรียกชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
  9. ชื่อ ที่อยู่ อายุ ของกรรมการ
  10. รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท
  11. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบัญชีรับอนุญาตและค่าตอบแทน
  12. ชื่อที่อยู่ สัญชาติ จำนวนหุ้น ของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
  13. ตราสำคัญ

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
  4. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
  5. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
  6. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  7. แบบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่ครบกำหนด
  8. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น)
  9. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
  10. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
  11. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  12. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
  13. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  14. กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจำกัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงนามผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
  15. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
  16. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  17. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  18. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  19. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)

หลายคนพออ่านถึงตรงนี้ อาจจะต้องกุมขมับ เพราะต้องเตรียมเอกสารมากมาย  ซึ่งมันยุ่งยากและซับซ้อนมาก จึงทำให้มีคนสนใจหันมาใช้บริการกับบริษัทที่ รับจดทะเบียนบริษัท แทน ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการบริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มันก็คุ้มค่า หากเลือกบริษัทที่เป็นมืออาชีพ มีระบบการทำงานที่ได้มาตรฐาน
บริษัท PANGPOND   รับจดทะเบียนบริษัท และรับทำบัญชี โดยผู้เชียวชาญ ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ชื่อนี้การรันตีความเนี้ยบ ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว
สามารถติดต่อใช้บริการ รับทำบัญชี และ รับจดทะเบียนบริษัท ได้ที่ 081-931-8341
หรือเข้าดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ PANGPOND.COM
บริการให้คำปรึกษาฟรี

จองชื่อบริษัท

ในการจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท มักจะมีข้อจำกัดเนื่องจากมีการจดทะเบียนบริษัท มาก่อนหน้านี้แล้วหลายสิบปี ชื่อที่เราชอบมักจะซ้ำ ไม่ว่าจะพ้องเสียงอีก มันเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวในการจองชื่อบริษัท ซึง ยังจะมีข้อจำกัดในการจองชื่อบริษัท ตาม คำแนะนำในการจองชื่อ เพื่อจดทะเบียนบริษัท ของกรมพัฒนาธุรกิจ อีกด้วย

ตัวอย่าง การจดทะเบียนบริษัท

หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน แล้วระหว่างรอการทำตรายางเราก็มาพิมพ์แบบฟอร์มการจดทะเบียนบริษัท ได้ตาม ตัวอย่าง การกรอกแบบฟอร์ จดทะเบียนบริษัท ที่เรามีให้ มีรายละเอียดค่อนข้างมากหน่อยแต่ไม่เกินความสามารถครับ

การทำตรายาง

สำหรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน ได้แล้วก็ถึงเวลาต้องออกแบบตรายางเพื่อใช้ในการจดทะเบียน แต่การทำตรายางก็มีข้อกำหนดในการทำตรายาง ต้องศึกษาก่อนทำจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง ระยะเวลาในการจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันการจดทะเบียนบริษัท จะใช้ระยะเวลาเพียงวันเดียวหากเอกสารทุกอย่างถูกต้อง…

รับจดทะเบียนบริษัท
รับจดทะเบียนบริษัท

รับจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท ต้องใช้กี่คน จดทะเบียนบริษัท 1 คน ได้ไหม?

เป็นคำถามสุดคลาสสิก สำหรับผู้ประกอบหน้าใหม่ เนื่องช่วง 3 4 ปีที่ผ่านมา มีการพูดถึงข้อมูลที่สามารถจดทะเบียนบริษัท 1 คนได้ โดยมีการแชร์บทความจาก แหล่งที่น่าเชื่อถือๆ บ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอยู่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่

ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถจดเบียนบริษัท 1 คนได้ หากจะประกอบกิจการ เจ้าของคนเดียวก็สามารถทำได้อยู่ แต่จะไม่ได้อยู่ในรูปแบบของ บริษัท จำกัด นั้นเอง

แล้วจดทะเบียนบริษัท 2 คนละ?

ปัจจุบันยังไม่สามารถจดเป็น บริษัท จำกัดได้ แต่ สามารถจดเป็น ห้างหุ้นส่วนได้ ต้องย้อนไปในอดีต การจดทะเบียนบริษัท มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย อดีตเคยใช้ ถึง 7 คน ปัจจุบัน สนับสนุนให้ผู้คนประกอบการจัดตั้งบริษัทมากขึ้น จึงลดการใช้จำนวน บุคคลที่ใช้จด ทะเบียน เหลือ เพียง 3 คน ลดความยุ่งยาก และอาจมองเห็นว่า เป็นบุคคลใกล้ชิดก็เพียงพอในการดำเนินธุรกิจแล้ว

รู้หรือไม่ว่า เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัท
มีอะไรบ้าง ?

ข้อมูลที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัท

  1. ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)  
  2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ / สาขา (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด) พร้อมเลขรหัสประจำบ้านของที่ตั้งสำนักงาน, E-mail, หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือกรรมการและหรือชื่อหรือที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือประกอบธุรกิจ
  3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า
  4. ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
  5. ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) อาชีพ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้
  6. ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของพยาน 2 คน
  7. ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
  8. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
  9. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
  10. ชื่อ ที่อยู่อายุสัญชาติหมายเลขโทรศัพท์เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของกรรมการ
  11. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)
  12. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
  13. ชื่อ ที่อยู่สัญชาติอาชีพ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) และจำนวนหุ้น ของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
  14. ดวงตราสำคัญ (ถ้ามี) บริษัทจะไม่จดทะเบียนดวงตราสำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้อง ประทับดวงตราสำคัญด้วย

ขึ้นตอนการจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัททำอย่างไร?

ขั้นตอนในทีนี้ ต้องบอกก่อนว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน หลักๆ คือ

  • ดำเนินการจดทะเบียนเอง ท่านต้องจัดเตรียมเอกสารเองทั้งหมดแล้วต้องหาผู่ที่ลงลายมือชื่อ ทนายความ หรือหัวหน้าสำนักงานบัญชี เพื่อเซ็นรับรองเอกสาร
  • ว่าจ้าง สำนักงานบัญชี หรือสำนักงานทนายความ หากท่านใช้บริการ เอกสารที่ต้องจัดเตรียมทั้งหมด ผู้รับจ้างจะเป็นผู้จัดทำให้ แต่ท่านอาจต้องเตรียมเอกสาร บางฉบับ เพื่อส่งให้กับ ผู้รับจ้าง เช่น
    • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ถือหุ้น 3 คน
    • สำเนาทะเบียนบ้าน ที่ตั้งสถานประกอบการ
    • แผนที่ตั้งสถานประกอบการ
    • ใบจองชื่อ (กรณีลูกค้าได้จองชื่อมาเรียบร้อยแล้ว)

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนบริษัท

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
  4. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
  5. แบบวัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
  6. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  7. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
  8. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น)
  9. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
  10. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการ ที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
  11. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  12. สำเนาข้อบังคับ ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท (ถ้ามี)
  13. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น
  14. กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจำกัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงนาม ผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้ถือหุ้น ที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับ จำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
  15. แบบ สสช.1
  16. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  17. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  18. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  19. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)

***หมายเหตุ หากกิจการของท่าน มีคู่ค้า ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ รายได้ของบริษัท เกินตามที่กฎหมายกำหนด ก็จำเป็นจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

เอกสารที่ใช้ในการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 กรณี

กรณีที่ 1 ยินยอมให้ใช้สถานที่

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน
  3. เอกสารยินยอมให้ใช้สถานที่
  4. รูปถ่ายสถานประกอบการ 3-4 ภาพ
  5. บัตรประชาชนตัวจริงของกรรมการผู้มีอำนาจ
  6. หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แสดงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
  7. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน

กรณีที่ 2 เช่าสถานประกอบการ

  1. สัญญาเช่าติดอากรสะแตมป์ครบตามจำนวนเงินในสัญญา
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  3. สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า
  4. รูปถ่ายสถานประกอบการ 3-4 รูป
  5. บัตรประชาชนตัวจริงของกรรมการผู้มีอำนาจ

กรณีทะเบียนบ้านไม่ระบุชื่อเจ้าบ้านและที่อยู่ในบัตรประชาชนไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สัญญาซื้อขายแสดงกรรมสิทธิ์
  • สำเนาบัตรประชนของผู้ที่มีชื่อระบุอยู่ในสัญญา

สถานที่จดทะเบียน จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน

หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 87 แห่ง โดยตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 7 แห่ง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ํา) สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 (ปิ่นเกล้า พหลโยธิน รัชดาภิเษก สี่พระยา บางนา และแจ้งวัฒนะ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)) และในส่วนภูมิภาคที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจังหวัดละ 1 แห่ง รวมถึงสาขาของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญอีก 4 แห่ง คือ แม่สอด เมืองพัทยา หัวหิน และ เกาะสมุย ยกเว้น การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซึ่งมีกฎหมายพิเศษ ควบคุม ได้แก่ หลักทรัพย์คลังสินค้า ห้องเย็น ไซโล นายหน้าประกันภัย บริหารสินทรัพย์ให้ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียน ดังต่อไปนี้

  • บริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ)
  • บริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดใด ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงาน พาณิชย์จังหวัดซึ่งบริษัทนั้น มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่

คำขอจดทะเบียนบริษัทได้ทุกพื้นที่ทั่วไทยแล้ว

***หมายเหตุ ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบ ให้สามารถ จดทะเบียนบริษัท ออนไลน์ (online) ได้แล้ว โดย ยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)

จดทะเบียนบริษัท ราคา เท่าไร ค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง?

แบ่งออกเป็น2แบบ คือ  1.ค่าธรรมเนียม 2.ค่าบริการจ้างจดทะเบียน

  1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท
  2. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000 บาท
  3. หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
  4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  5. รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท

****หมายเหตุ หากใช้บริการ สำนักงานบัญชี หรือ สำนักงานทนายความ ค่าบริการ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างรับงาน  

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท

ทางกรมพัฒนาฯ ได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนต่างไว้เป็นตรางค่าธรรมเนียมไว้แล้ว แต่ครั้งนี้จะพูดถึงแค่ว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท จะเป็นเท่าไร
หากดูจากตรางค่าธรรมเนียมแล้วจะแบ่งออกมาเป็นค่าธรรมเนียมบริษัทได้ดังนี้

จดทะเบียนบริษัทจำกัด

  บาท
1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ  
      1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท 500.-
      1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ 50.-
            (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
      1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท 25,000.-
2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท  
      2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ(นอกจากการเพิ่มทุน) 400.-
      2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน  
            (1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท 500.-
            (2) ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น 50.-
                 (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
            (3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท 25,000.-
3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด  
      3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท 5,000.-
      3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ 500.-
           (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
      3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป 250,000.-
4. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด 5,000.-
5. จดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ  
      ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด  
      5.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท 5,000.-
      5.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ 500.-
            (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
      5.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป 250,000.-
6. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัท  
      6.1 จดทะเบียนมติพิเศษ (เพิ่มทุน/ลดทุน/ควบบริษัท) 400.-
      6.2 จดทะเบียนเพิ่มทุน  
            คิดตามทุนที่เพิ่มทุก 100,000 บาท 500.-
            (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
            เพิ่มทุนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป 250,000.-
      6.3 จดทะเบียนลดทุน 400.-
      6.4 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ 400.-
      6.5 จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับทุกข้อ 400.-
      6.6 จดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ คนละ 400.-
      6.7 จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน) 400.-
      6.8 จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ 400.-
      6.9 จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา 400.-
      6.10 จดทะเบียนแก้ไขดวงตรา 400.-
      6.11 จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ 400.-
7. จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี 400.-
8. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี 400.-
9. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี 400.-
10. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานผู้ชำระบัญชี 400.-
11. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี 400.-

ชื่อบริษัท และห้างหุ้นส่วน คำย่อ ความหมาย และภาษาอังกฤษ

ชื่อบริษัท ภาษาอังกฤษ Company Limited Partnership หรือชื่อห้างหุ้นส่วน ภาษาอังกฤษ Limited Partnership

Co., Ltd. คืออะไร

Co., Ltd. ย่อมาจาก Company Limited หมายถึง บริษัทจำกัด 

Part., Ltd. คืออะไร

Part., Ltd.  ย่อมาจาก Partnership Limited หมายถึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด

Pub Co., Ltd. คืออะไร

Pub Co., Ltd. ย่อมาจาก Public Company Limited หมายถึง บริษัท มหาชน จำกัด


จดทะเบียนบริษัท(บอจ.3)
จดทะเบียนบริษัท(บอจ.3)

รายการจดทะเบียนจัดตั้ง

บริษัท ……………………………………………………….………….จำกัด

ทะเบียนเลขที่ ………………………………………..

(ทุน.……………………….บาท แบ่งออกเป็น………………….หุ้น มูลค่าหุ้นละ …….…………..……บาท)

      ข้อ 1. จำนวนหุ้นทั้งสิ้นซึ่งได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหรือได้จัดออกให้แล้ว   ……………………หุ้น   (……………….….….)

เป็นหุ้นสามัญ ……………หุ้น (…….……) ชนิดเดียว / และหุ้นบุริมสิทธิ     .…………….หุ้น   (……………….)

      ข้อ 2. จำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ คือ

ก. หุ้นสามัญ ซึ่งต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า (ลงเงินเต็มมูลค่า) .……………………หุ้น   (……………….….….)       และ ซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้ว (ไม่ต้องลงเงินเลย).……………………หุ้น   (……………….….….)       ได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว หุ้นละ ……บาท (ลงเงินเพียงหุ้นละ…….บาท)  .………………หุ้น   (……………….….….)

ข. หุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า (ลงเงินเต็มมูลค่า) .………………….หุ้น   (……………….….….)       และ ซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้ว (ไม่ต้องลงเงินเลย).……………………หุ้น  (……………….….….)        ได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว หุ้นละ ……บาท (ลงเงินเพียงหุ้นละ…….บาท) .………………..หุ้น   (……………….….….)

      ข้อ 3. จำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วแต่ละหุ้น (เฉพาะหุ้นที่ลงเงิน) คือ

ก. หุ้นสามัญ ซึ่งต้องลงเงินเต็มมูลค่า ได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละ        ..……………….บาท    (……………….…….)           และ ซึ่งต้องลงเงินเพียงหุ้นละ ……………..บาท ได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละ ..……………..บาท    (………………..)

ข. หุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งต้องลงเงินเต็มมูลค่า ได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละ        ..……………….บาท    (……………….…….)         และ ซึ่งต้องลงเงินเพียงหุ้นละ ……………..บาท ได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละ ..……………..บาท    (………………..)

     ข้อ 4. จำนวนเงินที่ได้รับไว้เป็นค่าหุ้นรวมทั้งสิ้น คือ

ก. หุ้นสามัญ ซึ่งต้องลงเงินหุ้นละ  …………….บาท ได้รับเงินค่าหุ้นไว้แล้ว                    …..…..……………บาท                         และ ซึ่งต้องลงเงิน (บางส่วน) เพียงหุ้นละ …………….บาท ได้รับเงินค่าหุ้นไว้แล้ว   …..…..……………บาท

ข. หุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งต้องลงเงินหุ้นละ  …………….บาท ได้รับเงินค่าหุ้นไว้แล้ว                    …..…..……………บาท                      และ ซึ่งต้องลงเงิน (บางส่วน) เพียงหุ้นละ …………….บาท ได้รับเงินค่าหุ้นไว้แล้ว   …..…..……………บาท

จำนวนเงินค่าหุ้นที่ได้รับไว้แล้วรวมทั้งสิ้น …………..บาท  (….…………..….……………)

ข้อ 5. ชื่อ และที่อยู่ ของกรรมการทุกคนของบริษัท จำนวน ………คน ดังปรากฏรายละเอียดในแบบ ก. ที่แนบ

ข้อ 6. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท คือ

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

(ลงลายมือชื่อ) …………………………..…………….…… กรรมการผู้ขอจดทะเบียน

(………………………………………….……)

หน้า …………ของจํานวน ………….หน้า                            (ลงลายมือชื่อ)…………………………….นายทะเบียนเอกสารประกอบคําขอที่ ………………                                        (……….….…..…….….…………………….)

ข้อ 7.  บริษัทนี้ตั้งขึ้นโดย  มี/ไม่มี  กําหนดอายุ……………………………………………………..…………………………

ข้อ 8.  สํานักงานของบริษัท มี …………………แห่ง คือ

สํานักงานแห่งใหญ่ เลขรหัสประจําบ้าน ????-??????-? ตั้งอยู่เลขที่ ­…………………..อาคาร …………………………………………………..ห้องเลขที่­ ………………… ชั้นนที่ ­………….. หมู่บ้าน ……………………………………………… หมู่ที่ ­………….. ตรอก/ซอย……………………………………………..ถนน…………………………………………….. ตำบล/แขวง……………………………………………………….เขต…………………………………………………………จังหวัด………………………………………………….. รหัสไปรษณีย์ ………………………………………………. หมายเลขโทรศัพท์ …………………………………………หมายเลขโทรสาร………………………………………….*E-mail …………………………………………………………………………………………………………………………ชื่อหรือที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์หรือประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) มีดังนี้1…………………………………………………………………………………………… 2…………………………………………………………………………………………………..สํานักงานแห่งใหญ่ เลขรหัสประจําบ้าน ????-??????-? ตั้งอยู่เลขที่ ­…………………..อาคาร …………………………………………………..ห้องเลขที่­ ………………… ชั้นนที่ ­………….. หมู่บ้าน ……………………………………………… หมู่ที่ ­………….. ตรอก/ซอย ……………………………………………..ถนน…………………………………………….. ตำบล/แขวง………………………………………………………. อำเภอ/เขต …………………………………………………………จังหวัด………………………………………………….. รหัสไปรษณีย์ ………………………………………………. หมายเลขโทรศัพท์ …………………………………………หมายเลขโทรสาร………………………………………….*E-mail …………………………………………………………………………………………………………………………

ข้อ 9.  รายการอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ มีดังนี้

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

ข้อ 10.  ตราของบริษัท มีดังที่ประทับไว้นี้

ข้อ  11.  บริษัทนี้ตั้งขึ้นโดย  มี / ไม่มี  ข้อบังคับ

(ลงลายมือชื่อ)……………………………………………………….…… กรรมการผู้ขอจดทะเบียน                                                                                (….…..…………..………………….……………………..)

บอจ.3
บอจ.3

บอจ.3ดาวน์โหลด