สัญญาซื้อขายสินค้าไปต่างประเทศ 2 สัญญา ซื้อขาย คือ

สัญญาส่งออก
Click to rate this post!
[Total: 2 Average: 3]

สัญญาซื้อขายสินค้าไปต่างประเทศ

เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้า ใครๆ ก็อยากรีบขายเพื่อให้ได้เงินหมุนเวียนในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผู้สงออกก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีลูกค้าต่างประเทศสนใจสินค้า มีการตกลงเจรจา ปรับปรุง ตรวจสอบทดสอบสินค้ากันมาระยะหนึ่งจนนำมาสู่การสั่งซื้อสินค้าอย่างจริงจัง

แต่การซื้อขายในการส่งออกอาจจะยากกว่าการซื้อขายสำหรับการค้าขายในประเทศบ้าง เช่น ในเรื่องของการตั้งราคาขายสินค้าที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ เงื่อนไขการชำระเงิน การระบุเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่มีชื่อเป็นทางการว่ข้อสัญญามาตรฐานในการค้าระหว่างประเทศ (International CommercialTerms) หรือที่คุ้นเคยกันทั่วไปว่า อินโคเทอม (Incoterms) การกำหนดการแก้ไขปัญหาข้อโต้แย้งทางการค้า เป็นต้น

 

ในทางทฤษฎี เมื่อมีการเสนอราคาและตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการซื้อขายจะเกิดขึ้นโดยเริ่มผู้ขายจัดทำ Pro-forma Invoice ส่งให้ผู้ซื้อสินค้าเพื่อเป็นการเสนอหรือยืนยันการเสนอราคาและเงื่อนไขต่างๆ ในการขายสินค้านั้นๆ เมื่อผู้ซื้อหรือตัวแทนของผู้ซื้อตกลงตามราคา และเงื่อนไขใน Pro-forma Invoice แล้วจะส่งใบสั่งซื้อ(Purchase Order) ให้ผู้ขายเพื่อเป็นการตอบรับและสั่งซื้อสินค้าตามราคา และเงื่อนไขดังกล่าว และในขั้นตอนสุดท้ายคือ การทำสัญญาซื้อขาย (Sales Contract) หรือ Sales Confimation ซึ่งผู้ขายส่งให้แก่ผู้ซื้อเพื่อยืนยันหรือตอบรับการสั่งซื้อสินค้าพร้อมรายละเอียดต่างๆ ทั้งด้านสินค้า การชำระเงิน การส่งมอบ เงื่อนไขต่างๆ อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

 

ซึ่งในทางปฏิบัติ ผู้ส่งออกจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออกระดับชาติหรือผู้ส่งออก SMEs มือใหม่ เมื่อมีคนต้องการซื้อสินค้า ก็ไม่สนใจเรื่องสัญญาซื้อขายเลย แต่ใช้เพียง Pro-forma Invoice หรือใบสั่งซื้อเป็นข้อตกลงซื้อขายสินค้า หรือไม่ก็ใช้สัญญาซื้อขายในรูปแบบที่ผู้ซื้อกำหนดมา หรือมีสัญญาซื้อขายแต่มักจะตกลงกันเฉพาะในเรื่องที่สำคัญเท่านั้น เช่น ในเรื่องสินค้าอะไร ปริมาณเท่าไร ราคาสินค้า วันและสถานที่ส่งมอบ เงื่อนไขการส่งมอบ และเงื่อนไขพิเศษบางประเภทเท่านั้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความเสี่ยงครับ

 

ในทางกฎหมายนั้น สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือเพื่อให้มีการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศจึงประกอบด้วยสัญญาหลายประเภทในสัญญาฉบับเดียว โดยมีสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นหลัก และมีสัญญาเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ได้แก่ สัญญารับขน สัญญาประกันภัย การชำระงินระหว่างประเทศ หรือเงื่อนไขเฉพาะบางประการ Retention of Title เป็นต้น รวมทั้งสัญญาซื้อขายที่จะมีผลทางกฎหมายมักมีข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้บังคับ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี และอนุญาโตตุลาการ

 

สัญญาซื้อขายที่ระบุข้อความเรื่อง Retention of Title อาจทำให้ผู้ส่งออกได้รับสินค้าคืน เมื่อผู้ซื้อล้มละลายหรือไม่ชำระเงินค่สินค้าแม้ว่าสินค้าจะอยู่ในมือของผู้ซื้อแล้ว ในทางกลับกัน มีกรณีที่ผู้ส่งออกที่ใช้สัญญาซื้อขายที่จัดทำโดยผู้ซื้อ และไม่ได้อ่านหรือทำความเข้าใจในข้อสัญญาอย่างถ่องแท้ ไม่ได้รับเงินค่าสินค้าและถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มจากการขายสินค้าส่งออกจากผู้ซื้อซึ่งเงินทั้งหมดมากกว่าราคาสินค้าที่ขายไปเสียอีกด้วย เพราะในสัญญาซื้อขายระบุให้ ผู้ซื้อสามารถเรียกเก็บคำใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำตลาดและจัดโปรโมทสินค้าของผู้ส่งออก จะสามารถขอรับการชดเชยจากผู้ขายสินค้าได้

 

ดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดีจะทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้รับความสะดวกและชัดเจนในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา เรื่องภาระหน้าที่และเงื่อนไขต่างๆ การจัดการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงภัยในสินค้า ภาระหน้าที่และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าอีกด้วยตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ขัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งปกติจะอยู่คนละประเทศ รวมถึงหลีกเลี่ยงความไม่ชัดเจนต่างๆ อันจะเป็นสาเหตุแห่งการพิพาทหรือโต้แย้งในอนาคต และที่สำคัญที่สุดคือการทำสัญญาซื้อขายทุกครั้งต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้ครบถ้วนและกระทำอย่างรอบคอบอยู่เสมอ

ขอบคุณที่มาบทความ:exim.go.th/getattachment/07478ee9-12d6-491a-aac8-041160739fcc/%E0%B8%AA%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2.%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%88-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97-25-27-%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2556.aspx